การเคหะแห่งชาติเร่งทำแผนพัฒนา “ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” ระยะ 10 ปี
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยี
พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การจัดทำแผนพัฒนาโครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2566 - 2575) โดย นายทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ ผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ มอบหมายให้ เรืออากาศโท ชัยรัตน์ ทองบริบูรณ์ รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการสัมมนาฯ พร้อมด้วยผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานการเคหะแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัย เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2565 ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม ชั้น 3 โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ กรุงเทพฯ รัชดา
เรืออากาศโท ชัยรัตน์ ทองบริบูรณ์ รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ กล่าวว่า กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้เป็นหน่วยงานหลักในการรวบรวมและจัดทำข้อมูลเพื่อการจัดตั้ง “ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” โดยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ สำนักงานสถิติแห่งชาติ และกระทรวงการคลัง ในการจัดทำข้อมูลที่อยู่อาศัย หรือ Big Data ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน รวมทั้งเป็นการยกระดับประสิทธิภาพของการจัดสวัสดิการสังคม และการช่วยเหลือของภาครัฐ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนได้อย่างยั่งยืน ซึ่งศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติเริ่มเปิดเป็นทางการเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2561 ณ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ปัจจุบันได้ย้ายข้อมูลจากเครื่องแม่ข่าย (Server) กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มาไว้ที่เครื่องแม่ข่าย (Server) ของการเคหะแห่งชาติ ภายใต้ชื่อ URL:https://nhic.nha.co.th โดยมีการรวบรวมข้อมูลที่อยู่อาศัยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเชื่อมโยงกับเว็บไซต์ แบ่งเป็น 13 หมวดหมู่ ประกอบด้วย 1) ประชากร 2) ความต้องการที่อยู่อาศัย 3) ที่ดินเพื่อที่อยู่อาศัย 4) สินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย 5) โครงการที่อยู่อาศัย 6) ด้านกฎหมายเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย 7) ด้านผู้ผลิต/ องค์กรที่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย 8) เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อที่อยู่อาศัย 9) นโยบายกาพัฒนาที่อยู่อาศัย 10) แผนที่ 11) โครงสร้างพื้นฐานสาธารณูปโภค สาธารณูปการ 12) ที่อยู่อาศัยต่างประเทศ 13) งานวิจัย นอกจากนี้ ยังจัดให้มีการเผยแพร่ข้อมูลในลักษณะ Dashboard และมี Application ให้บริการแก่ประชาชนที่สามารถสืบค้นหาโครงการที่อยู่อาศัยของการเคหะแห่งชาติได้อีกด้วย
ทั้งนี้ “ศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” จำเป็นจะต้องมีการวางระบบจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับด้าน
ที่อยู่อาศัยให้เป็นระบบ มีมาตรฐาน มีความถูกต้องแม่นยำทั้งในระดับข้อมูลภาพรวมและข้อมูลเชิงลึกที่เพียงพอต่อการคาดประมาณถึงแนวโน้มหรือทิศทางของความต้องการที่อยู่อาศัยของประชาชนในอนาคต รวมถึงสามารถเชื่อมโยงกับลักษณะทางกายภาพของพื้นที่ได้อย่างเป็นระบบ และต้องเป็นข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน ดังนั้น กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการเคหะแห่งชาติ จึงร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ดำเนินงาน “โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” ตามแผนปฏิบัติการ โครงการเชิงยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 เพื่อจัดทำแผนพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2566 - 2575) ได้แก่ แผนระยะสั้น แผนระยะกลาง และแผนระยะยาว รวมถึงแผนปฏิบัติการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ซึ่งผลที่ได้รับจากการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยนั้น ประชาชน หน่วยงาน/องค์กรทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน สถาบันการเงิน และสถาบันการศึกษา จะมีแหล่งข้อมูลด้านที่อยู่อาศัยของประเทศที่สามารถเข้าถึงได้สะดวก รวดเร็ว ตอบสนองความต้องการของทุกภาคส่วน อีกทั้งศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติจะเป็นเครื่องมือกลไกในการพัฒนาขับเคลื่อนการพัฒนาที่อยู่อาศัยของประเทศตามนโยบายของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และนายจุติ ไกรฤกษ์ รัฐมนตรีว่าการกระทวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ รวมทั้งเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDGs) และนโยบาย BCG ของประเทศไทย
การจัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการ (Workshop) การจัดทำแผนพัฒนาโครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ระยะ 10 ปี (พ.ศ. 2566 - 2575) ในครั้งนี้ เพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ทรงคุณวุฒิของหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องด้านการพัฒนาที่อยู่อาศัยมาประกอบเป็นแนวทางการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยให้ครอบคลุมรอบด้าน สำหรับกิจกรรมในช่วงเช้ามีการบรรยาย “แนะนำแนวทางการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” โดย เรืออากาศโท ชัยรัตน์ ทองบริบูรณ์ รองผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ และการเสวนา หัวข้อ “แนวทางการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” โดยมีวิทยากรดังนี้ ดร.กฤติมา ลี่รัตนวิสุทธิ์ ที่ปรึกษาด้านกลยุทธ์ท้องถิ่น โครงการเมืองแห่งอนาคตระดับโลก องค์การสหประชาชาติประจำประเทศไทย(UN Habitat) รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้าน
การพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ดร.ณฤดี เคียงศิริ อดีตนายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์ไทย นายสัมมา คีตสิน อุปนายกฝ่ายวิชาการ สมาคมธุรกิจบ้านจัดสรร และนางสาวฉันทนา ชานนท์ ที่ปรึกษาฝ่ายวิชาการและพัฒนานวัตกรรม
เพื่อที่อยู่อาศัย อดีตผู้ช่วยผู้ว่าการการเคหะแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินรายการ ส่วนกิจกรรมในช่วงบ่าย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในฐานะทีมที่ปรึกษา “โครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ” ได้นำเสนอผลการดำเนินงานศึกษาแผน กลยุทธ์ นโยบาย ยุทธศาสตร์ที่สำคัญ และระบบฐานข้อมูลสนับสนุนการดำเนินงานโครงการพัฒนาศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ รวมทั้งจัดกิจกรรมการให้ความคิดเห็นในการกำหนดยุทธศาสตร์ เป้าหมาย ตัวชี้วัด ของศูนย์ข้อมูลที่อยู่อาศัยแห่งชาติ ตลอดจนระดมความคิดเห็น ประเด็นหัวข้อ “แนวทางการเชื่อมโยงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการพัฒนาโมเดล” โดยเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้ทำกกิจกรรม Workshop ร่วมกัน