ทีทีบี เผยแนวการสร้างความผูกพันให้พนักงานรักองค์กร เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อน สู่ความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน ในงาน ttb HR Forum ครั้งที่ 2
เพราะหน้าที่ของฝ่ายทรัพยากรบุคคล หรือ HR ไม่ได้จบเพียงแค่การสรรหาบุคลากรที่เหมาะสมมาทำงานให้กับองค์กร แต่ยังมีหน้าที่ส่งเสริม พัฒนาเพื่อให้บุคลากรทำงานอย่างมีคุณภาพมากขึ้น แต่จากโลกยุคปัจจุบันที่มีความเปลี่ยนแปลงในทุกเรื่องอย่างรวดเร็วทำให้คนรุ่นใหม่มีการเปลี่ยนแปลงสถานที่ทำงานบ่อยครั้ง HR ขององค์กรต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องมีกลยุทธ์ที่จะสร้างความผูกพันระหว่างองค์กรและพนักงาน โดย ทีทีบี ได้เชิญ นางสาววาณี พิชเยนทรโยธิน ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้าน HR จาก PacRim มาอัปเดตกลยุทธ์ในหัวข้อ ‘HR ยุคใหม่ต้องรู้! อัพสกิลบริหารคนยุค 4.0 ให้ได้ใจพนักงาน’ ในงาน ttb HR Forum ครั้งที่ 2 เพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนสู่ความสำเร็จขององค์กรอย่างยั่งยืน อย่างไรให้ได้ใจพนักงาน
หนึ่งในความท้าทายที่หลายองค์กรต้องเผชิญ คือ พนักงานเปลี่ยนงานบ่อย ทำให้ HR ต้องเฟ้นหาพนักงานใหม่มาร่วมงานกับองค์กรอยู่ตลอดเวลา โดยข้อเสนอที่สร้างความผูกพันให้พนักงานอยู่กับองค์กร มักหนีไม่พ้นในรูปของเงินเดือน หรือโบนัส และสิ่งที่จ่ายเป็นเงินก็จะมีการกำหนดเกณฑ์ในการจ่าย หรืออิงตามผลการประเมินการทำงานประจำปี แต่ปัจจุบันโลกเปลี่ยนไป สวัสดิการพนักงานไม่ได้มีแต่เพียงเรื่องเงินเท่านั้น สิ่งที่ไม่ใช่ตัวเงินที่ HR นำมาใช้เป็นสวัสดิการ เช่น สวัสดิการตรวจสุขภาพประจำปี บริการนวดบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรม การจัดให้มีคอร์สอบรม ซึ่งหลังจากที่ทุกองค์กรได้ผ่านประสบการณ์ Work From Home กันมาตลอดช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้รูปแบบการทำงานในปัจจุบันเป็นแบบไฮบริด ออฟฟิศกลายเป็น Social Hub ที่มีไว้ให้พนักงานเข้ามาใช้เป็นสถานที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้แทนการเข้ามาใช้เป็นสถานที่นั่งทำงานเต็มรูปแบบเหมือนในอดีต
แม้ว่าการสร้างความผูกพันในองค์กรกับพนักงานจะไม่ใช่แค่เพียงเรื่องเงินอย่างเดียวแล้วก็ตาม แต่ปัญหาที่มักเจอในองค์กรหลายแห่ง คือ HR ยังปฏิบัติ (treat) พนักงานเป็นสิ่งของ ซึ่ง HR ควรต้องปรับมุมมองใหม่ด้วยการมองพนักงานให้เป็นมนุษย์ โดยมี 4 องค์ประกอบที่จะเป็นแหล่งพลังที่ใช้สร้างความผูกพัน คือ
1. Body ดูแลให้มีความเป็นอยู่ที่สะดวกสบาย จัดที่ทำงาน เอื้อต่อการทำงานด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ มีชมรมกีฬา แคมเปญฟิตเนส ออกกำลังกาย บริการเครื่องดื่มสุขภาพ มีจัด Outing รวมถึงสวัสดิการเงินช่วยเหลือโอกาสต่าง ๆ หรือสินเชื่อที่มาพร้อมอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ฯลฯ
2. Mind ส่งเสริมความรู้ ความสามารถด้วยการจัดให้มีแหล่งข้อมูล มีการฝึกอบรม ให้มีสติปัญญา มีความรู้ความเชี่ยวชาญ เสริมทักษะความรู้ อบรมเพิ่มความเชี่ยวชาญ โดยบางองค์กรมีจ่ายเงินเพิ่มเป็นรางวัลเมื่อทักษะมีการพัฒนาขึ้นได้ตามเป้าหมาย
3. Heart ดูแลจิตใจให้เข้าใจผู้อื่น เช่น การฝึกอบรมให้หัวหน้างานรู้จักทำ Mini Talk กับทีม มีการถามไถ่ทุกข์สุขลูกน้องนอกเหนือจากเรื่องงาน มี Session เปิดใจเพื่อรับรู้ปัญหานำมาแก้ไข รวมถึงการจัดให้มีสวัสดิการดูแลไปยังครอบครัว เช่น Childcare Center สำหรับพนักงานที่มีบุตร
4. Spirit สร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานสรรสร้างกิจกรรมดี ๆ ด้วยกิจกรรมสังคมเพื่อความยั่งยืน (CSR) ที่จะช่วยยกระดับจิตใจให้มีโอกาสทำเพื่อคนอื่นและสังคม เช่น ให้ลาหยุด 1-2 วันไปทำ CSR หรือลาไปปฏิบัติธรรม
นอกจากนี้ HR ควรทำให้พนักงานรู้สึกว่าเป็นคนที่มีคุณค่า ไม่ใช่แค่เป็นพนักงานคนหนึ่งในองค์กร เมื่อพนักงานเห็นคุณค่าของตัวเองและมองว่าตนเองมีความสำคัญต่อองค์กร จะเกิดความรักองค์กรและอยากอยู่ในองค์กรต่อไปนาน ๆ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่ต้องการมีตัวตน มีบทบาท อยากทำงานที่มีความหมาย นอกจากนี้ HR ต้องสร้างบรรยากาศการทำงานไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มศักยภาพให้ผู้นำเพื่อให้เกิดความไว้วางใจจากทีม รวมถึงการให้ความสำคัญกับพนักงานที่ลาออกไปแล้ว ก็ควรจะต้องติดต่อกันอยู่บ้าง เพราะวันหนึ่งในอนาคตอาจมีโอกาสและความเป็นไปได้ที่พนักงานคนนั้นจะกลับมาร่วมงานกับองค์กรอีกครั้ง
นอกจากการสร้างความผูกพันให้พนักงานมีต่อองค์กรแล้ว อีกหน้าที่หนึ่งที่สำคัญไม่แพ้กันของ HR ในการดูแลความเป็นอยู่ที่ดีให้กับพนักงานตลอดเวลาที่ทำงานในองค์กร เพื่อให้พนักงานทำงานให้กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยนายจักรพันธ์ จารุธีรศานต์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร หัวหน้าบริหารงานขายและเครือข่ายการขายลูกค้าบุคคล ทีเอ็มบีธนชาต ได้กล่าวเสริมว่า “HR จะมอบชีวิตทางการเงินที่ดีให้กับพนักงานได้ต้องเข้าใจปัญหาชีวิตของพนักงาน ซึ่ง 95% มีหนี้และปัญหาหนี้จะส่งผลกระทบต่อการทำงานในองค์กร ทีทีบีมีความเข้าใจถึงปัญหาที่พนักงานในองค์กรต้องพบเจอจึงได้ตั้งหน่วยงานขึ้นมาโฟกัสในเรื่องนี้โดยเฉพาะ โดยมีภารกิจสำคัญ คือ การนำโซลูชันทางการเงินที่มีอยู่มาช่วยสร้างชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นให้กับพนักงานกลุ่มเงินเดือนของทีทีบี โดยร่วมมือกับ HR พันธมิตรองค์กรที่มีความมุ่งมั่นและตั้งใจ ส่งเสริมให้พนักงานในองค์กรได้รับการดูแลสวัสดิการที่ดีผ่านการให้ความรู้ ควบคู่กับการบริหารจัดการทางการเงินแบบรอบด้าน”
สิ่งสำคัญในการแก้ปัญหาหนี้นั้น พนักงานไม่ควรก่อหนี้เพิ่ม แต่ควรลดภาระหนี้ รวบหนี้ ด้วยบริการสินเชื่อสวัสดิการอเนกประสงค์ ทีทีบี ที่มีจุดประสงค์เพื่อแบ่งเบาภาระหนี้ หรือรวบหนี้ดอกเบี้ยสูงจากที่อื่นมาผ่อนชำระด้วยดอกเบี้ยถูกลงกับทีทีบีที่เดียว ที่ให้วงเงินสูงสุด 5 เท่าของเงินเดือน โดยไม่ต้องมีหลักประกัน หรือคนค้ำประกัน นอกจากนี้ควรมีการออมเงินไว้ในบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าปกติ เช่น บัญชี ทีทีบี มีเซฟ (ttb ME save) บัญชี ทีทีบี โนฟิกซ์ (ttb no fixed) หรือบัญชีเงินเดือน ‘บัญชี ทีทีบี ออลล์ฟรี’ (ttb all free) ที่มอบความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุครั้งละ 3000 บาทไม่จำกัดจำนวนครั้ง และคุ้มครองชีวิตด้วยวงเงินสูงถึง 20 เท่าของยอดเงินฝากคงเหลือในบัญชี สูงสุด 3 ล้านบาท พนักงานจึงไม่จำเป็นต้องมีประกันชีวิตเพิ่มเติมอีก ยกเว้นต้องการประกันสุขภาพเพิ่มเติม ซึ่งก็สามารถซื้อเพิ่มได้ในราคาที่ถูกกว่าราคาปกติทั่วไป รวมทั้งยังมีกิจกรรมให้พนักงานบัญชีเงินเดือน ทีทีบี ได้ร่วมสนุกอย่างต่อเนื่อง อาทิ แคมเปญลุ้นโชคใหญ่ เคลียร์หนี้ให้ คุ้มครองนาน ที่ได้มอบโชคเคลียร์หนี้ไปแล้วกว่า 700 ราย เป็นยอดหนี้ที่เคลียร์ให้แล้วเกือบ 7 ล้านบาท และแจกรางวัลเป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตอีก 200 กว่าราย มูลค่า 34 ล้านบาท
ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างในเรื่องของ Employee Financial Well Being อย่างจริงจังและต่อเนื่อง ทีทีบีจึงได้จัดกิจกรรมพิเศษ ttb financial well-being awards ขึ้นเป็นปีที่สอง พร้อมทั้งเชิญชวนองค์กรที่ใช้บริการบัญชีเงินเดือน ทีทีบี เข้าร่วมกิจกรรมนี้ด้วยกัน เพื่อช่วยกันแก้ปัญหาเรื่องหนี้และดูแลการเงินให้พนักงานได้มีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ทั้งในเรื่องฉลาดออม ฉลาดใช้ รอบรู้เรื่องกู้ยืม มีการคุ้มครองที่เหมาะสม และวางแผนเพื่อลดหย่อนภาษีที่เหมาะสม โดยกิจกรรมนี้ได้จัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม – 31 ธันวาคม 2566 โดย 12 องค์กรดีเด่นที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาจะได้รับรางวัลเงินสด 100000 บาท พร้อมโล่รางวัล
“ทีทีบี เชื่อว่า ‘สุขภาพทางการเงินที่ดี’ ในทุกวัน คือ พื้นฐานสำคัญในการบรรลุเป้าหมายของชีวิต ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างบรรทัดฐานใหม่ให้แต่ละองค์กรเป็นองค์กรที่ช่วยเปลี่ยนชีวิตทางการเงินให้กับพนักงาน โดยส่งเสริมให้แต่ละองค์กรมุ่งเน้นในการให้ความรู้ทางการเงิน และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้นของพนักงานในองค์กรนั้น ๆ เพราะนอกจากจะช่วยเรื่องการพัฒนาประเทศแล้วยังช่วยให้ธนาคารสามารถเติบโตไปได้อย่างยั่งยืน เราจึงให้ความสำคัญอย่างจริงจังกับการบริหารจัดการหนี้ของพนักงานผ่านโซลูชันต่าง ๆ ที่ทีทีบีมีอยู่อย่างหลากหลาย” นายจักรพันธ์ กล่าวสรุป
สนใจเป็นครอบครัวบัญชีเงินเดือน ทีทีบี ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ทีทีบีทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ https://www.ttbbank.com/th/payroll/private-employee