กรุงศรี พาเจาะลึก Private Equity กองทุนทางเลือกศักยภาพสูง บริหารโดย BlackRock และ Schroders ผู้จัดการกองทุนชั้นนำของโลก
นายวิน พรหมแพทย์ (ที่ 2 จากซ้าย) CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับผู้บริหารกองทุนและสินทรัพย์ระดับโลกอย่าง Schroders และ BlackRock BlackRock ในงานสัมมนาสุดพิเศษ ในหัวข้อ Rediscovering Private Equity in Changing Times ซึ่งจัดให้กับกลุ่มลูกค้า KRUNGSRI Private Banking โดยเฉพาะ โดยเผยมุมมองที่น่าสนใจในการรับมือและบริหารพอร์ตการลงทุนในกองหุ้นนอกตลาด รวมถึงแนะนำกองทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษสำหรับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 นี้
กรุงศรี (ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)) เปิดมุมมองการลงทุนในกองทุนหุ้นนอกตลาด (Private Equity) ในยามที่เศรษฐกิจโลกและตลาดทุนมีความผันผวน ภายในงานสัมมนาสุดเอ็กซ์คลูซีฟจัดโดย KRUNGSRI Private Banking หัวข้อ Rediscovering Private Equity in Changing Times ที่ได้รวบรวมผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนในหุ้นกู้นอกตลาดระดับท็อปของกรุงศรี ร่วมด้วยผู้บริหารกองทุนและสินทรัพย์ระดับโลกอย่าง Schroders และ BlackRock ที่มาร่วมแชร์มุมมองที่น่าสนใจในการรับมือและบริหารพอร์ตการลงทุนในกองหุ้นนอกตลาดอย่างไรให้เหมาะสม รวมถึงแนะนำกองทุนที่น่าสนใจสำหรับผู้ลงทุนสถาบันและผู้ลงทุนรายใหญ่พิเศษสำหรับช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 นี้
นายวิน พรหมแพทย์ CFA ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสายงานลูกค้าไฮเน็ตเวิร์ธ ธนาคาร
กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “สำหรับไตรมาสสุดท้ายของปี 2565 ภาพรวมของตลาดทุนยังคงเผชิญกับความผันผวนทางเศรษฐกิจทั่วโลก กรุงศรี แนะนำการลงทุนในสินทรัพย์ทางเลือกอย่าง Private Equity ที่ให้ผลตอบแทนที่ดี แม้ว่าจะมีสภาพคล่องต่ำกว่า และระยะเวลาลงทุนมากกว่า แต่มีความผันผวนน้อยกว่าการลงทุนในหุ้น ซึ่ง Private Equity มีค่าความสัมพันธ์ (Correlation) ต่ำเมื่อเทียบกับสินทรัพย์แบบเดิม มีโอกาสเพิ่มผลตอบแทนและลดความเสี่ยงที่ดี โดยจากข้อมูลของกองทุนที่กรุงศรีได้คัดเลือกมานำเสนอสามารถสร้างผลตอบแทนที่ดีกว่ากองทุนประเภทอื่น ๆ เทียบจากดัชนี S&P500 (-24%) ขณะที่กองทุน Krungsri Finnoventure PE Y2033 Fund-Not for Retail Investors (KFFVPE-UI) ให้ผลตอบแทนที่ระดับ -2% กรุงศรีโกลบอลไพรเวทอิควิตี้-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFGPE-UI) ที่ระดับ 0.11% และกรุงศรีไพรเวทแคปปิตอลระยะยาว-ห้ามขายผู้ลงทุนรายย่อย (KFLTPC-UI) ที่ระดับ 0.18% เป็นต้น จากนี้ กรุงศรี ยังมองหาสินทรัพย์ Private Equity อื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น อสังหาริมทรัพย์นอกตลาดเจ้าหนี้อสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารพาณิชย์ออฟฟิศหรือคนที่ซื้อบ้าน (Private Debt) มาเติมพอร์ตให้มีความหลากหลายและครอบคลุมยิ่งขึ้น”
นายอาทิตย์ ทองเจริญ Head of Thailand Business จาก Schroder หนึ่งในบริษัทบริหารจัดการกองทุนชั้นนำระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหาร Private Equity มากว่า 30 ปี และเป็นผู้บริหารจัดการกองทุนที่เสนอขายโดย บลจ. กรุงศรีอย่าง KFGPE-UI กล่าวว่า “แต่เดิม Private Equity เป็นสินทรัพย์ที่เข้าถึงได้ยากเนื่องจากเปิดให้เฉพาะนักลงทุนที่เป็นสถาบัน แต่ในระยะหลังมีการขยายมาสู่นักลงทุนรายย่อยมากขึ้น อย่างตัว KFGPE-UI ของ Schroder ก็นำมาปรับให้มีความคล่องตัวขึ้นโดยสามารถขายได้ในรายไตรมาส จากที่ต้องถือยาวสามถึงห้าปี นอกจากนี้ความโดดเด่นของกองทุนนี้ที่เสมือนได้ลงทุนใน Private Equity ใน 160 บริษัททั่วโลกแล้ว ยังมีการบริหารจัดการแบ่งพอร์ตออกเป็นสองส่วน (80:20) คือ Small Mid Buyout (80%) ในบริษัทที่มีการบริหารจัดการมาระดับหนึ่งแล้วมีแผนอยากพัฒนาไปอีกขั้น เช่น กิจการครอบครัว (Family Business) ในสหรัฐฯ และ Mid Small Asia (20%) ในกิจการที่กำลังโต เปิดมาได้ไม่นานแต่มีความน่าสนใจในการลงทุน ซึ่งจะให้สัดส่วนที่ไม่มากนัก โดยจากข้อมูลล่าสุดในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ผลตอบแทนของทั้งพอร์ตเป็นที่น่าพอใจโดยจัดแบ่งการลงทุนในพอร์ตเป็น Mid Small Buyout (82%) Growth (15%) และ Venture (3%)”
จัดพอร์ตตามศักยภาพการเติบโตของตลาดแต่ละภูมิภาค
เศรษฐกิจและตลาดเงินโลกขึ้นอยู่กับภูมิภาคฉันใด การลงทุนใน Private Equity ก็ย่อมไม่ต่างกันมากนัก ซึ่งกองทุน KFGPE-UI ของ Schroder เองมีการจัดพอร์ตโดยพิจารณาความเป็นไปทางด้านภาพรวมของตลาดแต่ละภูมิภาคของโลก โดยที่ผ่านมามีการลงทุนในส่วนภูมิภาคอเมริการเหนือ 48% ยุโรป 42% และเอเชีย 10% ซึ่งส่วนของเอเชียนั้นแต่เดิมวางไว้ที่ 20% แต่เพราะภาพรวมยังมีความท้าทายทางเศรษฐกิจและสถานการณ์โควิด-19 มาร่วมด้วยจึงปรับลงมาที่ 10% และส่วนใหญ่เป็นกิจการในจีนและอินเดีย ขณะที่ยุโรปก่อนหน้าอยู่ที่ประมาณ 47-48% แต่ช่วงที่ผ่านมาลงเพิ่มส่วนของสหรัฐอเมริกามากขึ้น เพราะปัจจัยพื้นฐานมีความน่าสนใจ และมีกระแสเงินสดเข้ามาต่อเนื่อง ซึ่งมองว่าเป็นโอกาสในการลงทุน
สินทรัพย์อ้างอิง (underlying) ที่เข้าไปลงทุนมี 3 แบบ คือ เข้าไปถือหุ้นด้วย (Co-investment) 53% ซื้อเพิ่มเติมจากตลาดรองของ Private Equity (Secondaries) 36% แล้วนำมาบริหารต่อ ซึ่งแบบนี้มีข้อดีที่ธุรกิจที่ดำเนินกิจการแล้วกระแสเงินสดผ่าน J-Curve ไปแล้ว และ Late Primaries 11% ที่เป็นกองทุน Private Equity อื่น ๆ ซึ่งวันที่ไปลงทุนจะมีระยะเวลาการลงทุน หรือการเรียกระดมทุนในช่วง 3-5 ปี โดยจะเลือกกองที่ลงทุนมาแล้วระดับนึง จึงทำให้ความผันผวนค่อนข้างต่ำ
ประเภทกิจการที่เลือกลงทุน จะจัดพอร์ตโดยเน้นที่กลุ่มธุรกิจเฮลท์แคร์ 34% ซึ่งเป็นกองทุนที่ Schroder บริหารอยู่ถึง 40% ในกลุ่มนี้ เพราะผันผวนน้อยมีความยืดหยุ่นที่ดีไม่เหวี่ยงตามภาวะเศรษฐกิจมากนัก ตามด้วยกลุ่มกิจการด้านเทคโนโลยี (27%) สินค้าเพื่อการอุปโภคและบริโภค (19%) และบริการทางธุรกิจ (1%)
พอร์ตกองทุนซึ่งตั้งมาราว ๆ สามปี โดยภายในสองปีมีบริษัท 10-20% ที่สามารถสร้างกระแสเงินสด (CF) ให้กองทุนแล้ว ทำให้มีสภาพคล่องได้รวดเร็ว ทั้งนี้ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา มีกองทุน Private Equity ออกมาเสนอขายมากมาย แต่ราคาส่วนใหญ่จะอยู่ที่ 1.6 เท่าขึ้นไปของเงินลงทุน ซึ่งบริษัทพยายามเลือกออกมาเสนอขาย โดยส่วนใหญ่ CF จะอยู่ที่ 0.9-1.1 เท่าของเงินลงุทน ซึ่งจากข้อมูลมีผลตอบแทนที่ 1.1% YTD (ข้อมูลเมื่อ 31 ส.ค. 2565)
นายธณาพล อิทธินิธิภัค Director and Head of Thai Business จาก BlackRock อีกหนึ่งผู้จัดการกองทุน Private Equity ชั้นนำ ได้แสดงความคิดเห็นที่น่าสนใจว่า “กองทุน Private Long Term Captial มีความแตกต่างจากกองทุนอื่น อย่างกองทุน KFLTPC-UI ถือเป็นกองทุนเรือธงของ BlackRock มูลค่ารวมสี่พันล้านเหรียญสหรัฐ โดยเลือกลงทุนในธุรกิจหลายรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่จะเน้นที่การลงทุนกับการซื้อกิจการที่มีงบการเงินแข็งแกร่ง สามารถทำกำไรได้สูง (Buyouts) นอกจากนี้ยังมีธุรกิจเงินร่วมลงทุน (Venture Capital) และการนำดอกเบี้ยหรือเงินปันผลไปลงทุนต่อ (Capital Growth) ด้านผลตอบแทน MOIC 1.4 เท่า ทั้งยังรวมถึงความเชี่ยวชาญในการบริหารกองทุน Private Equity ของ BlackRock ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านกองทุนทางเลือกที่ใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยมูลค่าสินทรัพย์ถึง 9 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมเครือข่ายทั่วโลกและเทคโนโลยี Aladdin ที่พัฒนาขึ้นพร้อมกับบริษัทเอง โดยกองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติ (Sovereign Fund) ก็นำเทคโนโลยีดังกล่าวมาใช้ด้วย ทำให้เข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของ Private Equity ได้ ซึ่งแตกต่างจากหุ้นทั่วไปที่หาข้อมูลจากสาธารณะ สำหรับ BlackRock แล้วการเป็นผู้จัดการกองทุน (Fund Manager) ไม่เพียงแต่เข้าไปลงทุนในสินทรัพย์ แต่ยังต้องบริหารจัดการและกำหนดกลยุทธ์การลงทุนให้มีประสิทธิภาพและสร้างผลตอบแทนที่ดีได้อย่างแท้จริง”
ธุรกิจครอบครัว ตัวเลือกที่มาเติมเต็มความน่าสนใจของกองทุน Private Equity
กลุ่มธุรกิจที่กองทุน Private Equity ให้ความสนใจส่วนใหญ่จะเป็น Buyout อย่างกรณีของธุรกิจครอบครัว ที่มักจะนำเงินทุนมาขยายและสร้างแบรนด์ด้วย ซึ่งปัจจุบันมีซื้อไว้หกบริษัทในพอร์ต ในภาพรวมมีผลการดำเนินงานที่ดี ค่าธรรมเนียม 0.85% ซึ่งได้ค่าธรรมเนียมเท่าเดิม แต่กองทุนมีขนาดใหญ่ขึ้น อาทิ ABG Authentic Brands Group เจ้าของแบรนด์แฟชั่นระดับโลกมากกว่า 50 แบรนด์ อาทิ Nautica Vanhousen Prince Juicy Coutour และ David-Beckham ซึ่งมีการใช้โมเดลขยายธุรกิจแบบ Asset Light มีกำไรส่วนที่เป็นเงินสดจริง ๆ (EBITDA Margin) ที่ 74% ทั้งยังมีข้อดีคือผู้ลงทุนสามารถเข้าถึงตลาดอเมริกาได้ จากผลงานในช่วงหนึ่งไตรมาสที่ผ่านมามีการควบรวมแบรนด์เข้าด้วยกัน ทำให้มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้นอย่าง David Beckham (โตขึ้น 40%) กับ Reebok (โตขึ้น 19%) หรือการร่วมมือกับ LF Corp. ได้ช่วยโปรโมตแบรนด์ในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นตัวแรกและใหญ่สุดของพอร์ต และทำกำไรไปแล้วถึง 180% เป็นต้น
จุดต่างของกองทุน KFGPE(Schroders) และ KFLTPC (BlackRock)
สองกองทุนที่ บลจ. กรุงศรีเลือกมานำเสนอนักลงทุน ต่างมีความน่าสนใจและมีความโดดเด่นที่ผู้ลงทุนสามารถเลือกให้เหมาะกับความต้องการ กองทุน KFGPE (Schroders) เน้นลงทุนในธุรกิจ Small Mid Buyout โดยกระจายน้ำหนักการลงทุนในตลาดทั้งสหรัฐอเมริกา ยุโรป และเอเชีย ขณะที่กองทุน KFLTPC (Blaockrock) เน้นการลงทุนในธุรกิจขนาดใหญ่ มีการกระจายการลงทุนแบบผสมผสานทั้งตลาดแรกและตลาดรอง เน้นโซนสหรัฐอเมริกาและยุโรป
การลงทุนในกองทุน Private Equity ยังไปได้ดี แม้มีการขึ้นอัตราดอกเบี้ย
การลงทุนใน Private Equity ถือว่ายังมีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนที่ดีเนื่องจากการเกิดหนี้และกำไรส่วนเฉพาะ EBITDA Margin ไม่สูง โดยกองทุนถือเงินสดอยู่ราว 5% และลักษณะการลงทุนที่แม้จะมีข้อจำกัดด้านระยะห้ามขายหุ้น (Lock Up Period) ขณะที่กองทุนมีสภาพคล่องมากขึ้น ถือเป็นจุดเด่นที่ต่างจากสินทรัพย์ทางเลือกอื่นที่ต้องถือระยะยาว 7-10 ปี ซึ่งกองทุนทั้งสองของกรุงศรี ได้ปลดล็อกข้อจำกัดดังกล่าวแล้ว ทั้งยังสามารถลงทุนเพิ่มได้ คือ กอง KFGPE (Schroders) สามารถลงทุนรายเดือน และขายได้ในรายไตรมาส ส่วนกองทุน KFLTPC (Blaockrock) ลงทุนได้แบบรายไตรมาส และขายได้ในรายปี
กองทุนทั้งสองมีการคิดมูลค่าทรัพย์สินอย่างไร
การคำนวณมูลค่าทรัพย์สิน (Net Asset Value: NAV) จะคิดโดยตีมูลค่าบริษัทโดยตรง อย่างหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จะดูที่ราคาตลาด แต่ Private Equity จะใช้หลายวิธีในการประเมิน เช่น การคิดลดกระแสเงินสด (DCF) ซึ่งกรณีกองทุน KFGPE (Schroders) สามารถคำนวณ NAV แบบรายเดือนได้ หรืออย่างกรณีของ BlackRock ที่มีลงทุนในบริษัทอัคคีภัยซึ่งเป็นการขยายธุรกิจแบบซื้อบริษัทอื่น ไม่ใช่แค่การขายอุปกรณ์ด้านอัคคีภัยที่เป็นผลิตภัณฑ์หลัก ก็เป็นอีกตัวที่ทำให้ NAV ปรับขึ้นด้วย
“กองทุน Private Equity นับเป็นสินทรัพย์ทางเลือกที่ได้รับความสนใจจากผู้ลงทุนมากขึ้นเรื่อย ๆ กองทุนทั้งสองที่ บลจ. กรุงศรี นำเสนอมานั้นก็ถือเป็นกองทุนคุณภาพที่ผ่านการคัดสรรมาเป็นอย่างดี และผู้บริหารกองทุนทั้งสองอย่าง Schroders และ BlackRock ที่มีความเชี่ยวชาญจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้ และเนื่องจากกองทุนทั้งสองมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน จึงขึ้นอยู่กับความชื่นชอบของผู้ลงทุนว่าอยากเน้นการลงทุนในรูปแบบและธุรกิจแบบใด หากชอบธุรกิจขนาดใหญ่แนะนำกองทุน KFLTPC-UI (BlackRock) และหากชอบธุรกิจตลาดแรกและตลาดรองที่มีแนวโน้มโตได้ดีและกระจายตัวหลากหลายแนะนำกองทุน KFGPE-UI (Schroders) หรือจะเก็บทั้งสองกองในพอร์ตก็ย่อมได้เช่นกัน เพราะจะช่วยเสริมกันได้เป็นอย่างดีด้วย” นายวิน กล่าวปิดท้าย
ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุน KFLTPC-UI บริหารจัดการโดย BlackRock และกองทุน KFGPE-UI บริหารจัดการโดย Schroders ได้ที่ บลจ. กรุงศรี โทร. 02-657-5757 หรือ ธนาคารกรุงศรีอยุธยาทุกสาขา